เทคโนโลยี blockchain คืออะไร

2413

เทคโนโลยี blockchain คืออะไร

          การทำความรู้จักเทคโนโลยี Blockchain นั้น คงไม่สามารถทำได้ภายในคำนิยามเดียว เพราะหากบอกว่า Blockchain  เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูล (Database) แบบที่ไม่มีศูนย์กลาง แต่เป็นระบบที่ควบคุมให้แก้ไขยาก จึงเชื่อถือได้ คงงงมากขึ้นว่า Blockchain คืออะไร มาลองทำความรู้จักกันดีกว่า

เทคโนโลยี Blockchain เป็นอย่างไร

          ระบบเก็บข้อมูล Blockchain มาคู่กับสกุลเงินบิทคอยน์ bitcoin ที่จับต้องไม่ได้ แต่มียอดเงินให้เห็น และความที่จับต้องไม่ได้นี่เอง จึงต่างจากระบบธนาคารที่มีธนาคารเป็นตัวกลางในการควบคุมยอดเงินฝาก แต่บิทคอยน์ไม่มีคนกลาง แต่เป็นเงินมีค่าที่สามารถซื้อขาย โอนให้กันได้ และเมื่อไม่มีคนคุม จึงต้องมีระบบมารองรับเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและโกงกันไม่ได้ ซึ่งก็คือ ระบบเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Blockchain  นี่เอง          ระบบ Blockchain  ทำให้ทุกคนได้รู้ข้อมูล update เรื่องบิทคอยน์หรืออื่นๆ ของกันและกัน จึงเป็นระบบเชื่อถือได้ ปลอมไม่ได้

อะไรทำให้ระบบ Blockchain เชื่อถือและไว้ใจได้

เพื่อทำความเข้าใจง่ายๆ จะขอเปรียบเทียบกับระบบบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งทุกคนรู้จักดีอยู่แล้ว

  1. ระบบบัญชีเงินฝาก มีสมุดคู่ฝากและลายเซ็นเจ้าของบัญชี เมื่อมีเงินฝาก ถอน โอน ข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บบันทึกไว้ในระบบของธนาคาร และสำเนาลงในสมุดคู่ฝาก จึงสามารถรู้ได้ว่า เจ้าของบัญชีมีเงินฝากคงเหลือในบัญชีเท่าไหร่ ระบบ Blockchain ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน คือ จะบันทึกการเคลื่อนไหวของบัญชีเช่น บิทคอยน์ และทุกคนที่อยู่ในวงการเดียวกันและต้องการรู้ก็สามารถรู้การเคลื่อนไหวของบัญชีผู้อื่นได้ เนื่องจาก Blockchain เป็นระบบที่เปิดเผยสู่สาธารณะ หากต้องการข้อมูลอัพเดท สามารถทบทวนย้อนหลังที่ไปที่มาได้ รวมถึงรู้ได้ด้วยว่า แต่ละรายการมีที่ไปที่มาอย่างไร ซึ่งเรียกระบบการเดินบัญชีแบบนี้ว่า Transaction หรือ Blockchain
  2. Public Ledger ของระบบ Blockchain  จะอยู่ในมือของทุกคน แทนศูนย์กลางการเงินอย่างธนาคาร หากใช้การเปรียบเทียบ
  3. Blockchain มีระบบที่ช่วยยืนยันความถูกต้องของการสั่งจ่าย สั่งโอน คือต้องมีการยืนยันว่าถูกต้องก่อน อีกฝ่ายจึงยอมรับ
  4. มีระบบ Miner จำนวนมาก เพื่อให้มีการแข่งขัน เรื่องการรับรองการสั่งจ่าย สั่งโอน ไม่ผูกขาดที่คนใดคนหนึ่ง และ miner ที่ยืนยันสำเร็จ จะได้รางวัล เพื่อกระตุ้นให้มีการทำงาน
  5. เมื่อมีการยืนยันแล้ว ยังมีระบบกล่อง ไม่ให้มีใครเข้าไปเปลี่ยนตัวเลขที่ได้รับการยืนยันได้อีก
  6. เมื่อคอมฯ ของใครคนใดคนหนึ่งล่ม ก็ยังไม่ล่มทั้งระบบ เพราะข้อมูลถูกกระจายไว้ในเครื่องของคนอื่นๆ อีก

อนึ่ง แม้ว่า Blockchain จะเป็นที่รู้จักคู่กับ บิทคอยน์ก็จริง แต่ Blockchain ใช้ได้กับเรื่องอื่นด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน