ลูกใต้ใบ คืออะไร

2092

ลูกใต้ใบ คืออะไร

หากคุณอยู่ในสายรักสุขภาพ เชื่อว่าต้องเคยเห็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดมาจากสมุนไพรที่ชื่อว่า “ลูกใต้ใบ”  ลองมาทำความรู้จักสมุนไพรชนิดนี้ พร้อมสรรพคุณทางยากันก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อหา

ลูกใต้ใบ คืออะไร

ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่หาพบได้ง่ายในเมืองไทย จะขึ้นชุกชุมในช่วงหน้าฝน ขึ้นเองแม้ตามไร่นา ลักษณะเด่นก็คือ ในก้านใบมีมีใบเรียงทั้งสองฝั่งลักษณะเดียวกับใบมะยม มีลูกเล็กซ่อนอยู่เรียงเป็นแถวตรงก้านใบ ถ้ามองด้านบนจะไม่เห็น ต้นลูกใต้ใบนี้ ในอดีตพระธุดงค์จะมีติดตัวไป ชงกับน้ำมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ท้องเสีย

ลูกใต้ใบเป็นพืชขึ้นง่ายปะปนกับวัชพืชอื่นๆ คนที่ไม่รู้จักจึงเหมารวมว่าเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งก็มี แต่ปัจจุบันได้รับความสนใจในสรรพคุณจนมีการนำมาสกัด และผลิตเป็นอาหารเสริม ช่วยบรรเทาอาการโรคตามสรรพคุณของมัน ส่วนใหญ่มักเน้นที่บำรุงรักษาตับ และโรคเกี่ยวกับตับ

สรรพคุณและประโยชน์ของลูกใต้ใบ

  1. บำรุงตับ ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่ผ่านการทดลองวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและอินเดียมาแล้ว จึงสรุปว่า ช่วยกำจัดพิษออกจากตับ บรรเทาอาการตับอักเสบที่เรียกว่าดีซ่าน บำรุงฟื้นฟูตับให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยสรรพคุณยับยั้งการสังเคราะห์ DNA ของไวรัสตับอักเสบนั่นเอง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่ใช่ยาที่จะรักษาโรคตับได้
  2. เป็นสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการไข้ อย่างที่พระธุดงค์ใช้ในอดีต แม้ในครัวเรือนทั่วไปก็ใช้แก้ไข้ต่างๆ ลดความร้อนในร่างกายได้ดี ใช้ลูกใต้ใบใส่น้ำแล้วต้มเคี่ยวกินน้ำ ถ้ามีอาการไอควบคู่ด้วย ให้ใช้ใบอ่อนมาต้มกับน้ำแล้วจิบแก้ไอ ระคายคอ แก้ร้อนใน กระหายน้ำด้วย
  3. ลูกใต้ใบ มีฤทธิ์ขับเลือดประจำเดือนให้มาตามปกติ ดังนั้น จึงเป็นสมุนไพรต้องห้ามของสตรีมีครรภ์
  4. ช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินปัสสาวะ ลดอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ แก้เบาขัด มีคำรับรองจากประเทศแถบบราซิลว่า แพทย์พื้นบ้านของที่นั่นใช้ลูกใต้ใบสำหรับรักษาโรคนิ่วในไต ในถุงน้ำดี แก้ไขเรื่องขับกรดยูริก ส่วนแพทย์พื้นบ้านของกัมพูชาใช้สรรพคุณดื่มเพื่อให้เจริญอาหาร

โดยรวมแล้ว ฤทธิ์ของสมุนไพรจากต้นใต้ใบ ไม่ว่าจะเป็นยอดอ่อนหรือลูกต้นใต้ใบ มีฤทธิ์เพียงอ่อนๆ จึงไม่ต้องกลัวว่าจะมีอันตรายใดๆ

หมายเหตุ คนที่มีอาการของโรคไต ไม่ควรรับประทาน เพราะจากการทดลองกับหนูทดลอง เมื่อกินประจำจะเป็นพิษกับไต และไม่รับประทานต่อเนื่องนานเกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของเลือดด้วย